yuriya

07 มกราคม, 2551

๏~* Centerpoint ปิดฉาก 9 ปี ถิ่นวัยรุ่นย่านสยามแสควร์ *~๏


ที่ดินบริเวณ Centerpoint ถูกกลุ่มของเสี่ยเจริญ เบียร์ช้าง คว้าสัมปทานไป ต้อนรับการออกนอกระบบ ของ ม. จุฬา ด้วยราคาเหนาะๆ ไม่ถึงหนึ่งพันล้านบาท ซึ่งทางเสี่ยเจริญก็จะพัฒนาที่ดินบริเวณเซ็นเตอร์ พอยท์ให้เป็นอาคารสูงหกชั้น มีนามว่า ดิจิตัล ซิตี้ เป็นแหล่งช๊อปปิ้ง ค้าขาย จับจ่ายใหม่ ซึ่งตาม โครงการจะเป็นแหล่งค้าสินค้าเทคโนโลยีทันสมัย พร้อมทั้งมีพื้นที่ให้วัยรุ่นทำกิจกรรมบนตัวอาคาร โดยงบประมาณการก่อสร้าง สูงถึง 289 ล้านบาท เริ่มการก่อสร้าง กุมภาพันธ์ 2551

โดยรายละเอียดของโครงการเป็นดังนี้

ชั้น 1 (ชั้นล่าง) เป็นพื้นที่ที่มีความตื่นเต้นสนนุกสนานประกอบด้วยพื้นที่ Convention Hall สำหรับจัด กิจกรรมทางการตลาด ที่มีความโอ่โถง สะดวกสบาย และมีผู้สัญจรผ่านมากที่สุดของกรุงเทพฯ นอกจาก นั้นจะเป็นศูนย์รวมสินค้าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทางด้านเกม กราฟิก และแอนิเมชันที่ทันสมัยที่สุด รวมไป ถึงร้านค้าซูเปอร์แบรนด์ที่มีสินค้าหลากหลายรูปแบบ

ชั้นที่ 2 ออกแบบพื้นที่ เป็นศูนย์รวมของสินค้าอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพา สำหรับธุรกิจและครอบครัว อาทิ คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook ) กล้องถ่ายรูปดิจิตอล และกล้องถ่ายวิดีโอ ,อุปกรณ์ออดิโอ และ วิดีโอ( AV) แบบพกพา รวมถึงร้านค้ามัลติแบรนด์ อีกทั้ง จะจัดให้มีไซเบอร์คาเฟ่ หรือร้านกาแฟที่ทัน สมัย สำหรับเป็นที่นั่งพักผ่อนอีกด้วย

สำหรับชั้นที่ 3 ออกแบบให้เป็นพื้นที่ ที่สามารถเข้า-ออกได้ อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการต่อเชื่อม กับ รถไฟฟ้าบีทีเ?ส โดยเป็นศูนย์รวมสินค้าแบบพกพาขนาดเล็กทุกรูปแบบ อาทิ มือถือ MP3 MP4 PDA Gadget อุปกรณ์เสริม อุปกรณ์ประกอบ กิฟต์ช็อป และร้านให้บริการทางด้านดิจิตอลและสื่อสารคมนาคม หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าใจบริการในชั้นดังกล่าว หากเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถหาซื้อสินค้า และใช้บริการได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีบริการร้านไซเบอร์คาเฟ่ที่ทันสมัยสำหรับเป็นจุดนัดพบอีกด้วย

ชั้นที่ 4 ออกแบบเป็นลานกิจกรรมสำหรับสร้างสรรค์สังคม พัฒนาการศึกษา เวทีคอนเสิร์ต และร้านอาหารที่ทันสมัย รวดเร็ว และสะดวกสบาย ผสมผสานกับการจัดสวนที่ให้บรรยากาศที่แตกต่างจากอาคารอื่นๆ ของสยามสแควร์

ซึ่งกลุ่มของเสี่ยเจริญ ประมูลชนะกลุ่มเดิมที่ทำเซ็นเตอร์พอยท์ รวมถึงกลุ่มอื่นๆ เช่นกลุ่มมาบุญครอง กลุ่มสยามเซ็นเตอร์ ที่แม้จะเป็นตัวเก็ง และให้ราคาที่สูงกว่า แต่ก็ไม่ถูกใจทางจุฬาฯ เพราะเป็นโครงการที่ดูให้ผลตอบแทนน้อยในระยะยาว

ภาพของจริงที่ชนะประมูล มองจากสถานีรถไฟฟ้าจะเห็นหลังคาเป็นคลื่น ถ้ามุม Bird Eye View จากตึกศูนย์หนังสือจุฬาฯ จะเห็นหลังคาเป็นตัวหนอนเลื้อยมา"


นี่คือภาพใหม่ของพื้นที่สยามเซ็นเตอร์พ้อยท์ หรือชื่อโครงการใหม่คือ "เซ็นเตอร์พ้อยท์ แอนด์ เกตเวย์ สยามสแควร์" ที่รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สิน แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงหลังจากตัดสินเลือกบริษัททิพย์ พัฒนอาร์เขต ในเครือของบริษัท ที.ซี.ซี. แคปปิตอล แลนด์ ของ "เจริญ สิริวัฒนภักดี" เป็นผู้ชนะประมูล ลงทุนพัฒนาพื้นที่ที่เป็น "ไข่แดง" ของสยามสแควร์ เป็นเวลา 15 ปี ด้วยงบลงทุน 289 ล้านบาท


บนพื้นที่รวม 1 ไร่ 64 ตารางวานี้ จะสว่างไสวด้วยอาคาร 4 ชั้น หลังคาก่อสร้างแบบ Free Form ไม่ใช่รูปทรงเรขาคณิต แต่จะคล้ายคลื่น และทั้งหมดใช้วัสดุก่อสร้างที่ทันสมัยที่สุด คือกระจก อะลูมิเนียม และหลังคาผ้าใบ ภายในอาคารมีร้านค้าปลีก โดยเฉพาะชั้น 2 และชั้น 3 ที่ไม่ใช่แค่เสื้อผ้า และอาหาร แต่จะมีสินค้าไอที เพราะสยามสแควร์ยังไม่มีแหล่งสินค้าไอที แต่สินค้าไอทีที่นี่จะเน้นรุ่นใหม่ล่าสุดเพื่อตอบสนองลูกค้าสยามสแควร์


จุดเด่นคือชั้นบนสุด เป็นลานกว้าง และสวนต้นไม้ ที่เรียกว่า Roof Garden ส่วนชั้น 3 ต่อเชื่อมกับ Digital Gateway หรือทางเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และชั้นล่างสุดคือลานแสดงเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็น Digital Convention Hall เป็นที่สำหรับสิ่งที่ทันสมัยในโลกจะมาแสดง เหมือนศูนย์แสดงนิทรรศการ

และด้วยจุดเด่นของโครงสร้างที่เป็นหลังคากระจก 2 ชั้น (Double Glazing) มีช่องว่างให้ลมผ่าน ทำให้สามารถประหยัดพลังงาน ผนวกกับรูปแบบโดยรวมที่ทันสมัย และความน่าเชื่อถือของเงินทุน เพราะทิพย์พัฒนอาร์เขต อยู่ในเครือของธุรกิจขนาดใหญ่ มีรายได้จากหลายสาขา และเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์จากการพัฒนาพันธุ์ทิพย์พลาซาเป็นศูนย์การค้าไอที นั้น ดร.บุญสมบอกว่าจึงเป็นข้อเสนอที่เหมาะสมที่สุด สำหรับเซ็นเตอร์พ้อยท์


สรุปข้อเสนอที่ทำให้สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ อนุมัติให้บริษัททิพย์พัฒนอาร์เขตชนะประมูล


1. คะแนนรวมเทคนิคเป็นอันดับ 1
-จากคุณสมบัติของบริษัทที่มีพื้นฐานมั่นคง เพราะมีธุรกิจหลากหลายในเครือ

-ประสบการณ์จากการบริหารห้างสรรพสินค้าไอที โดยเฉพาะพันธุ์ทิพย์ พลาซา

2. รูปแบบการก่อสร้างที่ทันสมัย ด้วยวัสดุกระจก อะลูมิเนียม และผ้าใบ พื้นที่เปิดโล่ง

-วัสดุกระจก 2 ชั้น มีช่องอากาศระหว่างกลาง เป็นฉนวนกันความร้อน ทำให้ประหยัดพลังงาน

3. ลักษณะหลังคา Free Form เป็นคลื่น ทำให้ดูสวยงาม จุดเด่นบนชั้น 4 ที่มี Roof Garden

4. คอนเซ็ปต์ของประโยชน์ใช้สอยสำหรับ "ยุคดิจิตอล" โดยเน้นสินค้าไอที และจัดมีห้องโถงสำหรับ แสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรม "ดิจิตอล คอนเวนชั่น ฮอลล์" ในชั้นล่าง พื้นที่ 900 ตารางเมตร รวมพื้นที่ให้เช่า 4,604 ตารางเมตร



กิจกรรมและไลฟ์สไตล์ในอนาคตของเซ็นเตอร์พ้อยท์ตามข้อเสนอของทิพย์พัฒนอาร์เขต
1. Digital Event & Media
เป็นพื้นที่ที่เน้นกิจกรรมทันสมัย และมีสื่อทันสมัย รวมถึงป้ายบิลบอร์ดสำหรับสินค้าและบริการต่างๆ
2. Exploration
เป็นที่สำรวจและค้นพบสิ่งใหม่ๆ
3. IT Spot
จุดแสดงเทคโนโลยีใหม่ๆ
4. Innovative Effects
แหล่งสะท้อนนวัตกรรมใหม่ๆ
5. Freedom & Uplifting
ให้ความรู้สึกอิสระ และเบิกบานใจ


ความเปลี่ยนแปลงที่เซ็นเตอร์พ้อยท์ เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาพื้นที่ที่ ดร.บุญสมบอกว่า ได้วาง Positioning ของสยามสแควร์ให้เป็น "Walking Street Mall" แห่งแรกของประเทศไทย ที่มีคอนเซ็ปต์ให้ความสำคัญกับคนเดินเท้า หรือที่เรียกว่า Pedestrian Priority โดยการปรับภูมิทัศน์ให้ร่มรื่น และไม่มีรถวิ่งผ่านในพื้นที่ จากเดิมภาพของสยามสแควร์จะมีเพียงตึกแถว และบางมุมเป็นมุมอับ ซอกซอยที่ภูมิทัศน์ไม่ดีนัก เช่น ที่วัยรุ่นเรียกกันว่าตรอกหนูดำ และ ซอยแมลงสาบ

และส่วนสุดท้ายที่เตรียมประมูลหาผู้รับเหมา คือบริเวณบล็อก L หรือบริเวณร้านสุกี้แคนตัน ก่อสร้างเป็นอาคารจอดรถ 10 ชั้น สำหรับจอดรถได้ 800 คัน งบลงทุน 800 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 18 เดือน มี Sky Walk เชื่อมต่อมาจากรถไฟฟ้าบีทีเอส บริเวณเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งพื้นที่นี้ในอนาคตหลังก่อสร้างอาคารจอดรถเสร็จแล้ว จะประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างโรงแรมขนาด 3 ดาวครึ่ง ขนาด 25 ชั้น 400 ห้อง โดย 3 ชั้นล่างจะเป็นร้านค้า และโรงเรียนกวดวิชา

ไม่มีความคิดเห็น:

kSite

Custom Search

แขกคนสำคัญ